สสปท. ห่วงใยประชาชน ออกมาตรการเข้ม การปฏิบัติงานในที่สูง

สถิติตกจากที่สูงพุ่ง 33 % เป็นอันดับสองของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการทำงาน สสปท.ห่วงผู้ปฏิบัติงานซ่อมเสาไฟหรือปฏิบัติงานบนที่สูง หลังฝนฟ้าคะนอง แนะสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัย พร้อมเตือนประชาชนระมัดระวังอันตรายจากกระแสไฟรั่ว ดูด
นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผอ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม (สสปท.) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกฟ้าคะนองในช่วงเย็นของวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเสียหายของป้ายหรือเสาไฟฟ้า และ เสาสัญญาณต่างๆ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งในกรณีเหล่านี้ บริษัทที่เป็นเจ้าของป้ายหรือเสาสัญญาณจำเป็นต้องเร่งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปซ่อมแซมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัย สสปท.มีความห่วงใยพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานในที่สูง เนื่องจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในปี 2566 ข้อมูลจาก National Safety Council (NSC, 2023) พบว่าประมาณ 33% ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในที่ทำงานมาจากการตกจากที่สูง ซึ่งอันตรายจากการตกจากที่สูงมีหลายปัจจัย อาทิ ไม่มีระบบป้องกันการตก สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น พื้นผิวลื่น สภาพอากาศแปรปรวน หรือพื้นที่ทำงานไม่มั่นคง อุปกรณ์ไม่เหมาะสมหรือขาดการตรวจสอบ เช่น สายรัดตัว (Full-body Harness) และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้การป้องกันล้มเหลว ความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติงาน ความประมาท ขาดการฝึกอบรม หรือความเหนื่อยล้า โครงสร้างไม่แข็งแรง พื้นที่ทำงานที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษา อาจพังถล่มเมื่อรับน้ำหนักมากเกินไปได้ ทั้งนี้ รายงานจาก Occupational Safety and Health Administration (OSHA, 2023) ระบุว่าการตกจากที่สูงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในงานก่อสร้าง
นายนันทชัย กล่าวว่า ในช่วงเวลาเร่งรีบที่พนักงานต้องเร่งซ่อมแซมป้าย เสาสัญญาณในที่สูง ขอแนะนำให้สวมใส่เข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา · ทำการปิดกั้นบริเวณพื้นที่ทำงาน · ห้ามใช้งานเกินขีดความสามารถของเครื่องจักร · ห้ามบังคับกระเช้าผ่านพื้นที่ที่มีผู้ปฏิบัติงานอยู่ โดยก่อนขึ้นทำงาน พนักงานต้องมีความพร้อมทั้งสวมหมวกนิรภัย สายรัดคาง แว่นตานิรภัย สายรัดเต็มตัว แต่งกายรัดกุม ใส่ถุงมือ พร้อมมีเชือกผูกรัดเครื่องมือ ถุงใส่อุปกรณ์ และรองเท้านิรภัยให้พร้อมเพื่อความปลอดภัยทั้งของผู้ปฏิบัติงานเองและผู้ที่อาจจะสัญจรไปมาในบริเวณดังกล่าวด้วย
ผอ.สสปท. ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากในพื้นที่สูงแล้ว อันตรายที่ต้องระวังอีกอย่างคือ เรื่องของไฟฟ้าดูด ไฟฟ้ารั่ว หรือ การต้องซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าในสภาพที่ยังมีน้ำท่วมขัง จึงขอให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า สวมอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยที่เหมาะสมเสมอ รวมถึงถุงมือที่เหมาะสม แว่นตานิรภัย และหน้ากากป้องกันใบหน้า ควรใช้โซ่หรือสายเคเบิลนิรภัยแบบมีสายดินเสมอเมื่อทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง ควรระมัดระวังอยู่เสมอเมื่อทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงอยู่เสมอ และ ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยที่บริษัทหรือองค์กรของคุณกำหนดไว้ ส่วนประชาชนทั่วไป เมื่อต้องซ่อมแซมแก้ไขปุกรณ์ไฟฟ้า ห้ามสัมผัสสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่มือเปียกหรือมือเปล่า เพราะอาจทำให้ผิวหนังไวต่อไฟฟ้าได้ ควรใช้ถุงมือหรือสิ่งอื่นเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังสัมผัสสายไฟหรืออุปกรณ์ อย่าสวมเสื้อผ้าที่หลวมบริเวณหน้าอกและเอวเมื่อทำงานใกล้ไฟฟ้าหรือน้ำ เสื้อผ้าที่หลวมอาจไปเกี่ยวสายไฟหรือสายไฟฟ้าที่อาจสัมผัสผิวหนังได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแรงดันไฟฟ้าบนกล่องวงจรเป็นแรงดันไฟฟ้าที่ถูกต้อง เมื่อทำงานกับไฟฟ้าใดๆ อย่าสัมผัสไฟฟ้าหากคุณรู้สึกไม่สบาย มีบาดแผลเปิด หรือตั้งครรภ์ เมื่อทำงานใกล้เครื่องทำน้ำอุ่นหรือกล่องวงจรไฟฟ้า ควรสวมถุงมือ สละเวลาติดตั้งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย เช่น สวิตช์นิรภัย เบรกเกอร์ หรือแท่งกราวด์ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
11 พฤษภาคม 2568
