“MCT” จัดสัมมนาในระดับสากล เพื่อศิลปิน และนักแต่งเพลงในยุคดิจิทัล ในประเด็นลิขสิทธิ์ดนตรีที่สร้างความ “ยุติธรรม” และ “เท่าเทียม”

    MCT หรือ บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาระหว่างประเทศ ร่วมกับสมาพันธ์แห่งสมาคมผู้สร้างสรรค์และนักแต่งเพลงระหว่างประเทศ (the International Confederation of Societies of Authors and Composers: CISAC) และ พันธมิตรผู้สร้างสรรค์ดนตรีแห่งเอเซียแปซิฟิก หรือ APMA (Asia-Pacific Music Creators Alliance) ในหัวข้อ “ทางเลือกของผู้สร้างสรรค์และมูลค่าของงานดนตรีในยุคดิจิทัล” หรือ ‘Creators’ Choice and the Value of Music in Digital Era  ในวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ห้อง Ballroom โรงแรม SO/Bangkok (ถนนสาทรเหนือ) มีนักแต่งเพลง บริษัทตัวแทนนักแต่งเพลง (มิวสิค พับลิชเชอร์) และผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 300 คน

โดยมี นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา, นายยุน มยอง ซอน (Mr. Yoon Myung Sun) ประธานบริหาร APMA, นายเบนจามิน อึ้ง (Mr. Benjamin) Regional Director for Asia-Pacific, CISAC และนายณฐพล ศรีจอมขวัญ ประธานกรรมการ บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกล่าวเปิดงานสัมมนาเพื่อร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อการซื้อขาดลิขสิทธิ์ (Copyright Buyout) และ มูลค่าของงานดนตรีในยุคดิจิทัล (The Value of Music in Digital Era)

ซึ่งได้รับเกียรติจากนักแต่งเพลงทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา, รองศาสตราจารย์อรพรรณ พนัสพัฒนา จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายเมเยอร์ พูริ (Mr. Mayur Puri) ผู้สร้างสรรค์ดนตรี - ประเทศอินเดีย,    นายธารณ ลิปตพัลลภ (แทน ลิปตา) ผู้สร้างสรรค์ดนตรี – ประเทศไทย,นายบุญหลาย กว้างมะนีวัน (ตูมตาม)  ผู้สร้างสรรค์ดนตรี - สปป.ลาว, นายแอนเดรีย โมเลอมาร์ (Arrien Molema) รองประธานคณะกรรมการผู้สร้างสรรค์ดนตรีระหว่างประเทศ the International Council of Music Creators (CIAM) - ประเทศเนเธอร์แลนด์, นายยู จีซอบ (You Giseob) KOMCA-ประเทศเกาหลี รวมถึง นายอิลแฟร์ อูเลีย (Irfan Aulia)  ผู้สร้างสรรค์ดนตรี-ประเทศอินโดนีเซีย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอมุมมองในการจัดสรรค่าลิขสิทธิ์ของงานดนตรีกรรมบนตลาดสตรีมมิ่ง เพื่อให้นักแต่งเพลง ผู้สร้างสรรค์ หรือ ศิลปิน ได้รับทราบถึงแนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ (Copyright Buyout) เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อย่างยุติธรรม และเท่าเทียม 

โดยนายณฐพล ศรีจอมขวัญ ประธานกรรมการบริษัท MCT ร่วมกับ นายซู กา จืออล (Chu Ga Yeoul) นักแต่งเพลงและประธานกรรมการสมาคมลิขสิทธิ์เพลงแห่งเกาหลี หรือ KOMCA (Korea Music Copyright Association) โดยกล่าวถึง “ความไม่เป็นธรรมจากสัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานและเกิดขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงการซื้อขาด (Copyright Buyout) ไม่ใช่เฉพาะกับนักแต่งเพลงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง ได้ตระหนักถึงการซื้อขาด ที่ส่งผลกระทบกับทุกคนในวงการดนตรี ไม่ใช่เฉพาะนักแต่งเพลง แต่ยังรวมถึงผู้ว่าจ้างเอง จากกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้น มักเกิดขึ้นจากการที่ผู้ว่าจ้างต้องการซื้อขาด ซึ่งแท้จริงแล้ว การซื้อขาดลิขสิทธิ์นั้นส่งผลกระทบทั้งทางด้านกฎหมาย และทางด้านศีลธรรม ดังนั้น การตกลงทำสัญญาเพื่อจัดสรรส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องและเป็นธรรม คือทางเลือกที่จะช่วยให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืนกับนักแต่งเพลงเอง พร้อมส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวงการเพลงไทยได้รับความเป็นธรรมตามหลักสากล”  

งานสัมมนาในครั้งนี้ ได้รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาซื้อขาดลิขสิทธิ์ หลักปฏิบัติอันดีในการจัดสรรรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อกระตุ้นให้นักสร้างสรรค์งานดนตรีได้การคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่ตนพึงได้รับ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่นักแต่งเพลง ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดนตรี รวมทั้งผู้ที่สนใจได้อย่างครบถ้วน  

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมรับฟังย้อนหลังเพิ่มเติมได้ทาง https://www.facebook.com/MusicCopyrightThailand/videos/638710844259414 

15 พฤษภาคม 2566


บริษัท มีเดีย เน็ทเวิร์ค จำกัด
138, 140 ซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
MEDIA NETWORK Co.,Ltd
138, 140 Soi Anamai Srinakarin Road Suanluang Suanluang Bangkok 10250
Tel. 02 721 4417 Fax. 02 721 5516
E-mail : phototechthailand@gmail.com


ติดต่อโฆษณาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02 721 4417 , 097 921 2929 คุณขวัญ

แฟนเพจ Phototech Magazine


ออกแบบโดย touronthai