วันนักประดิษฐ์สุดยิ่งใหญ่ วช. มอบรางวัล I-New Gen Award 2023 ผลงานเข้าประกวดพร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์

   วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” และพิธีมอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะผู้บริหาร วช. เข้าร่วมพิธีฯ ณ เวทีกลาง Event Hall 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร โดยในพิธีดังกล่าว คุณวิทยา พานิชตระกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฮาตาริอิเลคทริค จำกัด และคุณพงษ์ชัย อมตานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมมอบเงินสนับสนับสนุนสร้างโอกาสและกล่าวถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐกรรม

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. จัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” เพื่อนำเสนอสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพร้อมใช้และความก้าวหน้าด้านการประดิษฐ์คิดค้นของประเทศ และผลักดันให้ให้เกิดการขยายผลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ วช. ได้รับการตอบรับการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการกว่า 1,000 ผลงาน ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรของ วช. ทั้งสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยงานวันนักประดิษฐ์ปีนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมชมงานจำนวนมาก และในวันนี้ วช. ยังจัดให้มีการมอบรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชนที่ร่วมประกวดในเวที Thailand New Gen Inventors Award  : I-New Gen Award 2023 เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เกิดแรงบันดาลใจและมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและนวัตกรในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคต ซึ่งปีนี้มีผลงานของเยาวชนในระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา จำนวน 446 ผลงาน ได้แก่ ระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 245 ผลงาน ระดับอาชีวศึกษา 103 ผลงาน และ ระดับอุดมศึกษา จำนวน 98 ผลงาน ที่ส่งเข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ในครั้งนี้ด้วย

สำหรับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 แบ่งออกเป็น 3 ระดับการประกวด ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมต้นและมัธยมปลาย) ระดับอาชีวศึกษา (ปวช. และ ปวส.) และระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท) ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การเกษตร กลุ่มที่ 2 อาหาร กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ กลุ่มที่ 4 พลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ และกลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว รวมจำนวน 41 รางวัลที่ผ่านการคัดเลือก ดังนี้
 
รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 1 การเกษตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเครื่องระบุระดับความสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงานการพัฒนาฟาร์มวัวอัจฉริยะ โดยการนำ Image processing ควบคุมการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการจัดการฟาร์ม จากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานเครื่องปอกกระเทียมพร้อมสับพลังงานลมเพื่อส่งเสริมกลุ่มแปรรูปพริกหมู่บ้านหนองบง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เวอร์ชั่น 4 จากโรงเรียนเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา

ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 2 อาหาร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผงกำจัดพยาธิใบไม้ตับในเนื้อปลาด้วยใบข่าอ่อนจากธรรมชาติ จากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ฉลากอัจฉริยะเพื่อบอกความสดของอาหารทะเลจากมังคุด กระเจี๊ยบ อัญชัน ข้าวเหนียวดำ แก้วมังกร จากโรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ แกงไข่มดแดงเห็ดขอนขาวถ้วยร้อนสำเร็จรูป จากโรงเรียนบ้านปราสาท จังหวัดศรีสะเกษ

ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานนาโนพลาสเตอร์พลัสโพรโพลิส จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลของปากกาแต้มฟันจากสารสกัดจากชาเขียวที่ป้องกันฟันผุ จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นวัตกรรมแผ่นแปะแผลประสิทธิภาพสูงจากสารสกัดใบชาเขียวห่อหุ้มด้วยอนุภาคพอลิเมอร์ลิกนาโนไมเซลล์เบลนด์นาโนคริสตัลเซลลูโลสจากกากใบชาเขียว โรงเรียนแสงทองวิทยา จังหวัดสงขลา
 
ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 4 พลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเซนเซอร์ตรวจจับไฟป่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงานวัสดุจีโอพอลิเมอร์เถ้าถ่านหินซ่อมแซมตัวเองได้ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานกำแพงเขื่อนตลิ่งป้องกันน้ำแบบพ็อปอัปอัตโนมัติ V2 จากโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม
 
ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานออกแบบลายผ้า “คงคนคร” ด้วยโปรแกรม Gometer’s Sketchpad (GSP) ส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จากโรงเรียนเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงานการประยุกต์ใช้โปรแกรม GSP เพื่อสร้างพิกัดจุดเชิงเส้น สำหรับการมัดย้อมลายผ้าโบราณบนเสื่อกก จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดสกลนคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ชุดผลิตภัณฑ์ผงย้อมโกงกาง จากโรงเรียนกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023 ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 1 การเกษตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เครื่องผสมเกสรดาวเรือง จากวิทยาลัยเทคนิคลำปาง จังหวัดลำปาง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เครื่องผลิตยาหม่องสมุนไพรไทย จากวิทยาลัยเทคนิคลำพูน จังหวัดลำพูน รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน DWM เครื่องฟอกย้อมและล้างเส้นด้ายระดับชุมชน จากวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 2 อาหาร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เครื่องอบกระเทียมดำประหยัดพลังงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน จากวิทยาลัยเทคนิคลำปาง จังหวัดลำปาง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เตาอบโอ่งและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นวัตกรรมชุดทำขนม Street food 3 types เพิ่มรายได้แก้ปัญหาความยากจน จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับพื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต จากวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงาน HKA เครื่องบริหารสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้าแบบ CPM ระบบกึ่งอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญจังหวัดอำนาจเจริญ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานถังขยะติดเชื้อแบบอัตโนมัติ จากวิทยาลัยการอาชีพบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 4 พลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานมิเตอร์ ไอโอที จากวิทยาลัยเทคนิคสระบุรี จังหวัดสระบุรี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ รถฉีดพ่นสารเหลวควบคุมระยะไกลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จากวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ เครื่องล้างเพื่อฟื้นฟูแบตเตอรี่แบบเปียกกึ่งอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
ระดับอาชีวศึกษา กลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุดเครื่องประดับถมนคราร่วมสมัย จากกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง จังหวัดนครปฐม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เครื่องสร้างลวดลายบนแผ่นไม้ด้วยไฟฟ้า จากวิทยาลัยการอาชีพป่าซาง จังหวัดลำพูน รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานผ้าคาดตกแต่งจากลูกปัดโนรา จากวิทยาลัยเทคนิคตรัง จังหวัดตรัง

รางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในการประกวดเวที Thailand New Gen Inventors Award : I-New Gen Award 2023  ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 1 การเกษตร รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุดตรวจสอบการติดพยาธิใบไม้ลําไส้ ขนาดเล็กชนิด Centrocestus formosanus ในปลาเศรษฐกิจ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งอัจฉริยะ พร้อมแอปพลิเคชันเพื่อคำนวณรายได้และระบบจัดเก็บข้อมูลบน i-Cloud แสดงผลผ่านสมาร์ทโฟนสำหรับธุรกิจน้ำยาง จากมหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงาน EVERFRESH ผลไม้ยืดอายุด้วยโมเลกุลธรรมชาติ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 2 อาหาร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ โอ่งคั่วเมล็ดกาแฟแบบโรตารี่ระบบอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานไข่ต้มจากพืชไร้สารก่อภูมิแพ้ สะดวกเก็บสะดวกกิน จากมหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี สำหรับรางวัลชนะเลิศในกลุ่มอาหาร ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก
 
ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ อุปกรณ์ถ่างขยายผนังหัวใจห้องบนจากโลหะผสมจำรูปสำหรับรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผิวหนังเทียมที่ทําจากเจลาตินเมทาคริโลอิลและเซลล์ต้นกําเนิดผสมโกรทแฟคเตอร์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ชีวภาพสามมิติสําหรับการรักษาแผล จากมหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ชุดตรวจออกซิไดซ์ไลโพโปรตีน ชนิดความหนาแน่นสูง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
 
ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 4 พลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนควบคุมผ่านระบบ IOT ร่วมกับพลังงานทดแทน จากวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับรางวัลชนะเลิศและรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในกลุ่มพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก
 
และระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน “โคม คราฟต์” นวัตกรรมต้นแบบจากกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถัดไป จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ เครื่องประดับที่ออกแบบจากหมากรุกไทยด้วยทฤษฎี Deconstruction จากวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกรุงเทพมหานคร สำหรับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในกลุ่มการท่องเที่ยว ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก
 
โดยผู้ได้รับรางวัลจากการประกวดเวที Thailand New Gen Inventor Awards : I-New Gen Award 2023 จะได้รับถ้วยรางวัลพร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัล เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีความสนใจที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและสร้างนวัตกรรมในอนาคต ได้แสดงความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งจะนำไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคต

“วันนักประดิษฐ์” จึงถือเป็นเวทีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นของคนไทย ซึ่งมีบุคลากรในแวดวงการประดิษฐ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้ความสนใจเข้าร่วมในการจัดแสดงผลงานจำนวนมาก ถือได้ว่า “วันนักประดิษฐ์” เป็นกลไกสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้สนใจการประ“วันนักประดิษฐ์” จึงถือเป็นเวทีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นของคนไทย ซึ่งมีบุคลากรในแวดวงการประดิษฐ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้ความสนใจเข้าร่วมในการจัดแสดงผลงานจำนวนมาก ถือได้ว่า “วันนักประดิษฐ์” เป็นกลไกสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้สนใจการประดิษฐ์คิดค้น เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น และ วช. ยังคงสนับสนุนให้มีการผลักดันและขยายผลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ของประเทศต่อไป

7 กุมภาพันธ์ 2566


บริษัท มีเดีย เน็ทเวิร์ค จำกัด
138, 140 ซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
MEDIA NETWORK Co.,Ltd
138, 140 Soi Anamai Srinakarin Road Suanluang Suanluang Bangkok 10250
Tel. 02 721 4417 Fax. 02 721 5516
E-mail : phototechthailand@gmail.com


ติดต่อโฆษณาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02 721 4417 , 097 921 2929 คุณขวัญ

แฟนเพจ Phototech Magazine


ออกแบบโดย touronthai