ฤกษ์ดี สทน.ติดตั้งเครื่องไซโคลตรอน ในโอกาสครบรอบ 15 ปีวันจัดตั้ง พร้อมทดลองเดินเครื่องผลิตเภสัชรังสีต้นปี 65

รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สทน.และคณะผู้บริหารเยี่ยมชมการติดตั้งเครื่องไซโคลตรอน ขนาด 30 เมกกะอิเล็กตรอนโวลล์ ถือเป็นโอกาสดีสำหรับการฉลองครบรอบ 15 ปีการจัดตั้ง สทน. และเครื่องไซโคลนตรอนนี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ผลิตเภสัชรังสีของไทย ซึ่งเริ่มดำเนินการได้ในปีหน้า 2565 น

จากสถานภาพปัจจุบันในประเทศด้วยปัจจัยด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วยเครื่อง PET (Positron Emission Tomography) ทำให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ในประเทศจำนวนมากมีเครื่อง PET ให้บริการคนไข้ แต่การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เภสัชรังสีที่ผลิตด้วยเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอน ถึงแม้จะมีโรงพยาบาลในไทย 2-3 แห่ง ได้รับสรร งบประมาณเพื่อจัดหาเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอนขนาดเล็ก (Compact cyclotron) เพื่อผลิตสารเภสัชรังสีขึ้นใช้เองก็ตาม แต่โรงพยาบาลเหล่านั้นต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องผลิตสารเภสัชรังสีและการบำรุงรักษาซึ่งสูงมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและอาจใช้งานเครื่องไม่คุ้มค่า ขณะเดียวกันยังมีความต้องการเภสัชภัณฑ์รังสีที่ผลิตด้วยเครื่องเร่งอนุภาคชนิดไซโคลตรอนพลังงานสูงสำหรับใช้กับเครื่อง SPECT (Single Photon Emissision Computed Tomography) ซึ่งเป็นเครื่องมือวินิจฉัยพื้นฐานและทางโรงพยาบาลยังต้องนำเข้าเภสัชภัณฑ์รังสีนี้จากต่างประเทศ แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จำเป็นต้อง ในการที่ สทน. จัดตั้งโครงการศูนย์ไซโคลตรอน โดยจัดหาเครื่องที่มีขนาดพลังงานและกำลังสูงเพียงพอในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและกระจายผลิตภัณฑ์ตามความต้องการให้ทั่วถึง พร้อมทั้งวางแผนการพัฒนาไอโซโทปรังสีใหม่ๆ และจัดให้มีอุปกรณ์ประกอบรองรับงานด้านอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย

หลังจากที่ สทน.ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในปี 2560 เพราะให้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร และติดตั้งเครื่องไซโคลนตรอนขนาด 30 เมกกะอิเล็กตรอนโวลล์ โดยติดตั้งเป้าผลิตไอโซโทปรังสีพร้อมอุปกรณ์สำหรับผลิตไอโซโทปรังสีใช้ในเครื่อง SPECT, ไอโซโทปรังสีใช้ในเครื่อง PET และไอโซโทปรังสีด้าน Therapy ได้แก่ I-123, I-124, Tl-201, Re-186, Cu-64, Ga-67, In-111และ Y-86 และไอโซโทปรังสีรอง C-11, N-13, O-15 และ F-18

โดยเฉพาะการผลิตไอโซโทปรังสีสำหรับเครื่อง PET และเครื่อง SPEC ได้แก่ ที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น 201TlCl ตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และ 67Ga-citrate ตรวจวินิจฉัยต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) และการอักเสบ สำหนับเครื่อง SPEC ปัจจุบันสารเภสัชรังสีทั้ง 2 ตัวนี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 100%

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดย 201TlCl

ตรวจวินิจฉัยต่อมน้ำเหลือง และการอักเสบ ด้วย 67Ga-citrate
และการศึกษาโรคทางพันธุกรรม และการวัดการกระจายตัวระหว่างการรักษามะเร็ง ด้วย 64Cu-DOTATATE สำหรับเครื่อง PET

​ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการ สทน.กล่าวว่า เครื่องไซโคลตรอยฃนของ สทน.เครื่องนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดินเครื่องแล้วจะทำให้ไทยมีศักยภาพในการผลิตสานเภสัชรังสี โดยเฉพาะที่สามารถใช้สำหรับการวินิจฉัยโดยเครื่อง PET และ SPECT ซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ทันสมัยและมีความแม่นยำสูง ผู้ป่วยจะได้เข้าถึงการรักษาที่ทันสมัยและทันถ่วงทีอย่างน้อย 80,000 คนในปีแรกจะเพิ่มขึ้นปีละ 10% ในเมืองประเทศไทยจะสามารถผลิตภัณฑ์สารเภสัชรังสีได้ จะสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าสารเภสัชรังสีได้มากกว่าปีละ 600 ล้านบาท ทำการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้น หลังจากนี้ สทน.จะทดลองเดินเครื่องผลิตเภสัชรังสี และพัฒนาห้องปฏิบัติการผลิตเภสัชรังสีให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งขอขึ้นทะเบียนตำหรับยากับทางองค์การอาหารและยา (อย.) และพร้อมให้บริการในเชิงพาณิชย์ในปี 2565 ต่อไป

26 เมษายน 2564


บริษัท มีเดีย เน็ทเวิร์ค จำกัด
138, 140 ซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
MEDIA NETWORK Co.,Ltd
138, 140 Soi Anamai Srinakarin Road Suanluang Suanluang Bangkok 10250
Tel. 02 721 4417 Fax. 02 721 5516
E-mail : phototechthailand@gmail.com


ติดต่อโฆษณาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02 721 4417 , 097 921 2929 คุณขวัญ

แฟนเพจ Phototech Magazine


ออกแบบโดย touronthai