“BGIC” จับมือ “Genexine Inc” จากเกาหลีใต้ เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ไทยสู่ระดับโลก

กรุงเทพฯ วันที่ 25 กันยายน 2562 - “BGIC” ผู้นำด้านการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพของไทย จับมือร่วมทุน “Genexine”  บริษัทยักษ์ใหญ่ไบโอเทคโนโลยีจากเกาหลีใต้ พร้อมผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ รุกอุตสาหกรรมยาสมัยใหม่ เดินหน้าพัฒนาชีวเภสัชภัณฑ์ สอดรับตลาดโลกเติบโตสูงเท่าตัว ตั้งเป้ายกระดับอุตสาหกรรมยาชีวเภสัชภัณฑ์ไทยสู่ระดับโลกและขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งศูนย์กลางการวิจัยพัฒนาและฐานผลิตยาในอาเซียน

นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไบโอ เจเนเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (BGIC)

นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ผู้นำด้านการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เกี่ยวกับชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical) 1  และอื่น ๆ เปิดเผยว่า BGIC เล็งเห็นโอกาสและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพประเทศไทย ซึ่งจะนำประเทศก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ จึงได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมมือกันสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชภัณฑ์ พร้อมผลักดันให้เป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งของประเทศ รวมถึงเตรียมความพร้อมพัฒนาศักยภาพ “BGIC” ให้เป็น ศูนย์กลางอำนวยในการให้บริการด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการจัดการงานวิจัย และสิทธิบัตรงานวิจัย (License–in & License-out Management) บริษัทจัดสร้างและหรือปรับปรุงโครงสร้าง การปฏิบัติงาน ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยี    เพื่อประกอบ ธุรกิจผลิตชีวภาพตามมาตรฐาน รวมถึงบริการพัฒนาธุรกิจใหม่ ที่ตอบสนองต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ  เพื่อเสริมสร้างรากฐาน อุตสาหกรรมยาในประเทศให้แข็งแกร่งในอนาคต 

สำหรับภาพรวมตลาดยาแผนปัจจุบันทั่วโลกในปี 2561 พบว่า มีมูลค่า 24 ล้านล้านบาท เติบโต 6.5% โดยยาที่มีการเติบโตสูง   และกำลังเป็นที่นิยมคือยาชีวภาพ มีอัตราการเติบโต 13% ขณะที่ในเอเชียมีการเติบโตถึง 19% สูงกว่าอัตราการเติบโตโดยรวมของโลก ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาพรวมของตลาดของประเทศไทย มีมูลค่าราว 1.8 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 6.5% โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นตลาดยาที่เป็นเคมีสังเคราะห์ประมาณ 70% ส่วนยาชีวภาพแม้ปัจจุบันจะมีสัดส่วนเพียง 30% แต่กลับเติบโตสูงถึง  16-19% และมีแนวโน้มว่าจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 50% ภายใน 5 - 10ปีนับจากนี้ และคาดว่า ประเทศไทยจะสามารถผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ ด้วยงานวิจัยภายในประเทศได้เองในอนาคตอันใกล้ 

“BGIC” ยังทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical Industry) ของประเทศไทยให้ก้าวสู่ระดับโลก โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ให้เป็นที่แพร่หลาย ในประเทศไทย โดยยาชีวภาพจะเป็นยาแห่งโลกอนาคตที่ถูกพัฒนาให้เป็นยาที่เรียกว่า Supergenerics กล่าวคือ สามารถเห็นผลรักษาใน ระยะเวลารวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการรักษาที่มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต่อสู้กับเชื้อที่ดื้อยาได้ดีกว่าเดิม และสามารถตอบโจทย์สังคม ผู้สูงอายุในอนาคต โดยการการออกแบบยาชีววัตถุให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุอีกด้วย

“เราเชื่อมั่นว่า การร่วมมือครั้งนี้จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศในการเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาค การศึกษาทั้งในและต่างประเทศโดยสร้างให้เป็นระบบนิเวศที่เกื้อกูลกันทำให้การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมมีความคล่องตัวและมีการ บริหาร จัดการแบบมืออาชีพที่เน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วน และนำพาประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ของโลกนี้” มารุตกล่าว

ล่าสุดได้มีการเซ็นต์สัญญาร่วมทุน Joint Venture ระหว่าง KinGen Holdings (KGH) (บริษัทในกลุ่มของ BGIC) และ Genexine Inc. โดยถือหุ้นบริษัทละ 50% เพื่อลงทุนใน KinGen BioTech (KGBio) ซึ่งเป็นโรงงานรับจ้างผลิตยาชีววัตถุและวาง ระบบที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตยาชีววัตถุ ด้วยมูลค่าการลงทุน 8 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ โดย KGBio ประมาณการรายได้ในปี 2562 - 2569 อยู่ที่ราว 220 - 250 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ จากนั้นจะมีการร่วมทุนจัดตั้งบริษัทเพื่อพัฒนาวิจัยยาชีววัตถุภายใต้ชื่อ KinGen Laboratory  (KGLab) โดยภายใน ปี 2570 มีเป้าหมายผลิตยาชีววัตถุใหม่ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก, ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง,  ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น คาดมูลค่าตลาด มากกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2570 

ทั้งนี้ โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ หรือ National Biopharmaceutical Facility (NBF) ซึ่งก่อตั้งร่วมกันเมื่อปี 2557 โดย มจธ. และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย NBF ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) วิทยาเขตบางขุนเทียน ดำเนินงานในรูปแบบของการรับจ้าง บริหารจัดการ กระบวนการผลิตชีววัตถุ เปิดให้บริการแก่องค์กร หน่วยงาน และผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศ โดยแบ่งการให้บริการเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. การบริการด้านการวิจัยและพัฒนา การออกแบบกระบวน การผลิตการขยายขนาดทั้งในกระบวนการผลิตต้นน้ำและปลาย น้ำรวมถึงการตรวจสอบคุณภาพ 2. การบริการผลิตยาชีวภาพที่สามารถ ผลิตยาชีวภาพที่เป็นโปรตีน   โดยใช้ที่กระบวนการวิศวกรรม    ชีวภาพชั้นสูงที่ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงจุลินทรีย์เป็นเซลล์ต้นแบบในการผลิต
รวมถึงการผลิตยา วัคซีน และสารชีวภาพมูลค่าสูง  เพื่อใช้รักษาโรคมะเร็ง และโรคร้ายแรงชนิดอื่น และ 3. การบริการฝึกอบรม และให้คำ ปรึกษาแนะนำในส่วนของการผลิตการตรวจสอบคุณภาพระบบสนันสนุนและระบบเอกสารตามมาตรฐาน GMP 

ส่วน Genexine Inc.เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลกจากประเทศเกาหลีใต้มีมูลค่าบริษัทราว 1.2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ก่อตั้งเมื่อปี  2542  เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดและโรคที่พบได้ยาก   (Orphan Disease)  พร้อมที่จะนำองค์ ความรู้ที่ล้ำค่า และถ่ายทอดความเชี่ยวชาญในการผลิตยาชีววัตถุในแบบมาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสู่ประเทศไทย  ปัจจุบันบริษัท Genexine ได้จดทะเบียนอยู่ใน ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศเกาหลีตั้งแต่ปี 2552

นายมารุต กล่าวปิดท้ายว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพนับวันจะเติบโตและมีมูลค่าที่สูงมากขึ้นในต่างประเทศ เพราะเป็นที่ ยอมรับทั้ง จากแพทย์ผู้รักษาและผู้ป่วยว่า ชีวเภสัชภัณฑ์มีคุณสมบัติในการรักษาโรคร้ายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ ยาที่มาจากเคมีสังเคราะห์ดังจะเห็นได้จากยอดขายผลิตภัณฑ์ยา  20  อันดับแรกในตลาด ยาทั่วโลกในปี   2561  เป็นยาที่ขึ้นทะเบียนเป็น
ชีวเภสัชภัณฑ์แล้วถึง 13 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นแนวโน้มที่จะเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆนับจากนี้  ทั้งยังสอดรับกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม การแพทย์ครบวงจร  (Medical Hub)  ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ตามกรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ที่ส่วน หนึ่งคือการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและผลิตชีวเภสัชภัณฑ์อีกด้วย

 1ชีวเภสัชภัณฑ์ หมายถึง เภสัชภัณฑ์หรือยาที่ถูกผลิตขึ้นจากสิ่งมีชีวิต ด้วยกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น วัคซีน ส่วนประกอบของเลือดและโปรตีนเพื่อการรักษา เป็นต้น
 2ยาชีววัตถุ (ยาชีวภาพ) หมายถึง ยาแผนปัจจุบันซึ่งผลิตจากส่ิงมีชีวิตโดยกระบวนการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์หรือเซลล์ชั้นสูง การสกัดสารจากเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช เทคนิคดีเอ็นเอสายผสม เทคนิคการผสมต่างพันธุ์ การขยายพันธุ์จุลินทรีย์ในตัวอ่อนหรือในสัตว์ การสกัดหรือแยกเลือดและพลาสมา หรือกระบวนการอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดเพิ่มเติมโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (คำจำกัดความตามกฎกระทรวงว่าด้วยการรับรองรุ่นการผลิตยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาชีววัตถุ พ.ศ.2553)

25 กันยายน 2562


บริษัท มีเดีย เน็ทเวิร์ค จำกัด
138, 140 ซอยอนามัย ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
MEDIA NETWORK Co.,Ltd
138, 140 Soi Anamai Srinakarin Road Suanluang Suanluang Bangkok 10250
Tel. 02 721 4417 Fax. 02 721 5516
E-mail : phototechthailand@gmail.com


ติดต่อโฆษณาหรือข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 02 721 4417 , 097 921 2929 คุณขวัญ

แฟนเพจ Phototech Magazine


ออกแบบโดย touronthai